วิทยาลัยเทคนิคแพร่สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ http://computerfor.siam2web.com/

Wellcome to

คุณสมบัติของออปแอมป์               

ออปแอมป์ (Op-Amp)  เป็นชื่อย่อสำหรับเรียกวงจรขยายที่มาจาก Operating Amplifier เป็นวงจรขยายแบบต่อตรง (Direct couled amplifier) ที่มีอัตราการขยายสูงมากใช้การป้อนกลับแบบลบไปควบคุมลักษณะการทำงาน ทำให้ผลการทำงานของวงจรไม่ขึ้นกับพารามิเตอร์ภายในของออปแอมป์ วงจรภายในประกอบด้วยวงจรขยายที่ต่ออนุกรมกัน ภาคคือ วงจรขยายดิฟเฟอเรนเชียลด้านทางเข้า  วงจรขยายดิฟเฟอ เรนเชียลภาคที่สอง วงจรเลื่อนระดับและวงจรขยายกำลังด้านทางออก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนออปแอมป์จะเป็นรูปสามเหลี่ยม ไอซีออปแอมป์เป็นไอซีที่แตกต่างไปจากลิเนียร์ไอซีทั่วๆ ไปคือไอซีออปแอมป์มีขาอินพุท 2 ขา เรียกว่าขาเข้าไม่กลับเฟส (Non-Inverting Input) หรือ ขา + และขาเข้ากลับเฟส (Inverting Input) หรือขา – ส่วนทางด้านออกมีเพียงขาเดียว เมื่อสัญญาณป้อนเข้าขาไม่กลับเฟสสัญญาณทางด้านออกจะมีเฟสตรงกับทางด้านเข้า แต่ถ้าป้อนสัญญาณเข้าที่ขาเข้ากลับเฟส สัญญาณทางออกจะมีเฟสต่างไป 180 องศา จากสัญญาณทางด้านเข้า

 

โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก(หรือ ไดแอค)

                ไดแอก ( DIAC ) หรือจะเรียกว่า ไดโอด-แอก ก็ได้เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ จุดชนวนไทรแอก ที่ถูกออกแบบให้มีการนำกระแสได้ 2 ทางที่แรงดันค่าหนึ่ง โดยรูปแบบโครงสร้างจะเป็นสาร P-N-P  3 ชั้น 2 รอยต่อเช่นเดียวกับทรานซีสเตอร์(transistor) ดังแสดงในรูปที่ 1 แต่จะแตกต่างจากทรานซีสเตอร์ก็ตรงที่ ความเข้มในการโด๊ป ( Dope ) สาร  เป็นผลทำให้รอยต่อทั้งสองของไดแอกเหมือนกัน จึงทำให้มีคุณสมบัติเป็นสวิตซ์(switch)ได้ 2 ทาง และค่าแรงดัน(voltage)ที่เริ่มต้นจะทำให้ไดแอกนำกระแสได้นั้นจะอยู่ในช่วง 29-30 V.

OPTOELECTRONICS

เส้นใยแสงถ้าหากเปรียบเทียบกับอวัยวะในร่างกายของคนแล้ว สามารถกล่าวได้ว่ามันทำหน้าที่เป็นเหมือนเส้นโลหิต และแสงที่เดินทางในเส้นใยแสงเปรียบเทียบเสมือนโลหิตที่ไหลในเส้นโลหิตนั่นเอง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนหัวใจซึ่งผลิตแสง (โลหิต) ออกมาได้แก่อุปกรณ์กำเนิดแสง (ตัวเปลี่ยนไฟฟ้า แสง) ในหน่วยการเรียนนี้จะได้กล่าวถึงโครงสร้าง การทำงานในการเปลี่ยนไฟฟ้าเป็นแสง และการเปลี่ยนแสงให้เป็นไฟฟ้าพร้อมทั้งกล่าวถึงอุปกรณ์แสงที่สำคัญ ๆ โดยสังเขป

โครงสร้างของการกำเนิดแสง

  

    เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า การที่กระแสไหลนั้นเป็นปรากฎการณ์ที่อิเล็คตรอนภายในสารที่ประกอบเป็นตัวกลางนั้นเคลื่อนที่ไปนั่นเอง แต่ทว่าอิเล็คตรอนนี้ถ้าหากไม่มีแรงภายนอกมากระทำแล้ว มันจะอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับกระแสน้ำในแม่น้ำที่ไหลจากที่สูงที่ต่ำ คราวนี้เราลองมาพิจารณาดูความสัมพันธ์ของกระแสน้ำกับกังหันน้ำ ดังแสดงในรูป 1

    สมมุติว่าเราต้องการที่จะขนน้ำในบ่อขึ้นไปเก็บเอาไว้ในอ่างเก็บนร้บนภูเขาดังแสดงในรูป 1 (a) เราจำเป็นจะต้องใช้รอก,ลิฟต์ หรืออุปกรณ์อย่างอื่นซึ่งเป็นพลังงานจากภายนอกให้แก่น้ำจึงจะขนมันขึ้นไปยังอ่างบนน้ำบนภูเขา (ที่สูง) ได้ ในทางตรงกันข้าม กรณีการขนน้ำจากบนภูเขาไปยังย่อน้ำข้างล่างนั้นไม่จำเป็นต้องให้แรงจากภายนอกเลยจ้ำจะไหลลงมาเอง (จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ) ตามธรรมชาติและมันยังถ่ายเทพลังงานที่มันสะสมเอาไว้ (gravity : แรงดูดจุดศูนย์ถ่วง) ให้แก่กังหันน้ำทำให้กังหันน้ำหมุนได้ จากหลักการที่กล่าวมานี้สามารถนำมาใช้อธิบายโครงสร้างและการทำงานของการปล่อยแสงได้โดยเปลี่ยนจากน้ำมาเป็นกรณีการไหลของอีเล็คตรอน

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 13,901 Today: 3 PageView/Month: 4

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...